7 เคล็ดไม่ลับ...สำหรับการปรุงสเต็กเนื้อ
บทความ | 18 ตุลาคม 2021, 11:18

Food Guru มั่นใจว่า เมนูเนื้อสุดคลาสสิกอย่าง “สเต็ก” (Steak) คงจะเป็นหนึ่งในเมนูโปรดครองใจคนรักเนื้อที่ไม่ว่าใคร ๆ ต่างต้องรู้จักและเคยรับประทานกันมาบ้างอย่างแน่นอน แต่การจะปรุงสเต็กด้วยตนเองให้ได้เป็นเนื้อสเต็กที่ยอดเยี่ยมนั้น อาจจำเป็นต้องใช้มากกว่ากระทะและเนื้อคุณภาพดี
ด้วยสาเหตุที่ว่า...การจะดึงรสชาติของเนื้อวัวในระดับความสุกไร้ที่ติตามที่คุณต้องการนั้น จำเป็นต้องใช้เทคนิคและเคล็ดลับต่าง ๆ มากมาย ซึ่งแต่ละเทคนิคที่ทางเราได้รวบรวมนำมาฝากกันในวันนี้ถือว่า เด็ด! เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อครัวสมัครเล่นหรือแม่ครัวมือใหม่ก็สามารถทำตามได้ง่ายที่บ้าน ขอเพียงแค่เตรียมเนื้อชิ้นโปรดกับกระทะใบเก่งให้พร้อม แล้วเราลองมาติดตามเทคนิคในการปรุงสเต็กที่เรานำมาฝากกันได้เลย
ถ้าหากคุณกำลังมองหาเนื้อวัวคุณภาพระดับพรีเมียม ลองเลือกเนื้อวัวชิ้นโปรดได้ ที่นี่ รับรองถูกใจ ไม่ผิดหวัง
7 เคล็ดลับที่คนรักสเต็กหรือมือใหม่หัดปรุงสเต็กควรรู้
1. การพักเนื้อ (Preparing & Resting) นำเนื้อออกมาพักไว้ก่อนปรุง 20-30 นาทีที่อุณหภูมิห้อง เพื่อให้เนื้อสเต็กปรุงสุกที่อุณหภูมิห้อง
2. การทำให้เนื้อแห้งสนิทหลังทำละลาย (Drying) อาจใช้กระดาษทิชชูสำหรับงานครัวซับน้ำ/เลือดของเนื้อ หรือใช้แผ่นนาโนชีตที่มีคุณสมบัติในการซึมซับของเหลวจากเนื้อสัตว์ สามารถใช้ได้ทั้งกับเนื้อวัวและเนื้อปลา
3. การปรุงรสเนื้อ (Seasoning) เปลี่ยนจากการใส่น้ำมันลงในกระทะเป็นการทาน้ำมันบนชิ้นเนื้อ และปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยเล็กน้อย หรืออาจเลือกใช้เป็นผงปรุงรสของญี่ปุ่นที่มีส่วนผสมของเกลือ พริกไทย และกระเทียมเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้นยิ่งขึ้น
4. ความร้อนของกระทะและเสียงฉ่าที่เกิดขึ้น (Sizzling) อุ่นกระทะทอดหรือกระทะสำหรับย่าง (บาร์บีคิว)ให้ร้อนจัด แต่ถ้าหากใช้กระทะทอด ควรเลือกใช้กระทะหนา ยิ่งก้นกระทะหนาจะยิ่งดี เพราะจะช่วยให้กักเก็บความร้อนได้นาน อีกทั้งยังส่งผลให้เนื้อมีความสุกสม่ำเสมอ ไม่ควรใส่วัตถุดิบในกระทะเยอะจนเกินไปเพราะอาจจะได้สตูว์แทนสเต็ก การปรุงเนื้อในกระทะควรแบ่งปรุงให้จบเป็นรอบ ๆ หรืออาจจะใช้สองกระทะหากจำเป็น
☝️ เคล็ดลับสำคัญในขั้นตอนนี้คือ เสียงฉ่าของกระทะ (sizzle) ที่ควรจะต้องเกิดขึ้นขณะที่วางสเต็กลงบนกระทะ หากว่าไม่มีเสียงฉ่าเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ แสดงว่ากระทะอาจยังไม่ร้อนพอ
5. ระยะเวลาในการปรุงเสต็กให้สุก (Timing) *ตามกฎของการใช้นิ้ววัดอุณหภูมิสำหรับสเต็กพอร์ชันหนาประมาณ 22 มม.
- Cook 2 นาทีต่อด้านของชิ้นเนื้อ จะได้ความสุกระดับ แรร์ (Rare)
- Cook 3 - 4 นาทีต่อด้านของชิ้นเนื้อ จะได้ความสุกระดับ มีเดียมแรร์ (Medium-rare)
- Cook 4 - 6 นาทีต่อด้านของชิ้นเนื้อ จะได้ความสุกระดับ มีเดียม (Medium)
- Cook แต่ละด้าน 2 - 4 นาที หลังจากนั้นใช้ไฟต่ำ cook ต่อไปอีกประมาณ 4 - 6 นาที เพื่อระดับความสุกแบบเวลดัน (Well-done) ซึ่งเป็นระดับความสุกที่สุด
6. การเช็กความสุกของเนื้อ (Finger-testing to check the doneness) ในขั้นตอนนี้ คุณอาจใช้นิ้วชี้สะอาดหรือนิ้วหัวแม่มือจิ้มลงไปบนเสต็กเบา ๆ ความสุกอาจแบ่งได้ ดังนี้
- Rare : เนื้อสเต็กมีความนุ่ม และอ่อนยวบเมื่อกดลงไป
- Medium-rare : เนื้อสเต็กมีความนุ่มและหยุ่นเด้งเล็กน้อยเมื่อกดลงไป
- Medium : เนื้อเสต็กมีการเด้งคืนตัวเมื่อกดลงไป
Well-done : เนื้อสเต็กจะมีความแน่นกว่าระดับอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
7. การพักเนื้อหลังปรุงสุก (Resting once cooked) ลองหันมาใช้วิธีพักเนื้อด้วยการวางลงบนเขียงไม้หรือจาน อาจใช้ฟอยล์หุ้มไว้แบบหลวม ๆ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 6 - 7 นาทีก่อนที่จะหั่นหรือเสิร์ฟ เพราะการปล่อยเนื้อทิ้งไว้จะช่วยให้เนื้อค่อย ๆ เซ็ตตัว โดยความชุ่มฉ่ำ(น้ำของเนื้อ) จะย้อนกลับคืนสู่เส้นใยของเนื้อ นั่นหมายความว่า น้ำของเนื้อจะไม่ไหลไปทั่วจานขณะที่คุณหั่นสเต็ก อีกทั้งยังทำให้สเต็กมีความนุ่มขึ้นอีกด้วย
📺 ติดตามเคล็ดลับและสูตรอาหารที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้ที่: https://bit.ly/3jSLj1B
#สเต็ก #สเต็กเนื้อ #ปรุงสเต็ก #เนื้อวัว #คนรักเนื้อ #สายเนื้อ